วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559

อ้างอิง

             อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ ปวีณา    สปิลเลอร์
คุณวรโชติ           ลมุดทอง (พี่ก้อง)             


             จัดทำโดย
นางสาวปวรรณรัตน์  บัวกิ่ง
  รหัส  5711011809088
สาขาเลขานุการทางการแพทย์
  หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
      มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


             อ้างอิง
          สำนักงานกองทุนการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
(28 กรกฎา 2557). หูดปัญหาผิวหนังรบกวนจิตใจ [ออนไลน์]. 
สืบค้นจาก: http://www.thaihealth.or.th/Content/25183.  
(วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน  2559).
          สลิล ศิริอุดมภาส. (5 มิถุนายน 2557). 
อาการของโรคหูด [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://haamor.com/th/      (วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2559).
         ชลธิรศน์ ศรีเกษตรสรากุล. (2557)  (2 พฤษภาคม 2556). 
หูดหงอนไก่ หูดอวัยวะเพศ[ออนไลน์].  สืบค้นข้อมูลจาก : http://haamor.com/th/ (วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2559). 
         มิลินคลินิก. หูดข้าวสุก [ออนไลน์]. สืบค้นข้อมูลจาก : http://www.skinanswer.org/) (วันที่สืบค้น 22 มิถุนายน 2559)
          ชวลิต ทัศนสว่าง. (2533). โรคหูดหงอนไก่ [ออนไลน์]. 
สืบค้นข้อมูลจาก: http://www.ipesp.ac.th/learning/poungkaew/chapter7/
Unti7_11.html (วันที่สืบค้นข้อมูล : 21 มิถุนายน 2559) 

การป้องกันการเกิด "โรคหูด"

          โรคหูด  เป็นโรคที่ติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดก็คือ การไม่มีเพศสัมพันธ์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้จะไม่มีเพศสัมพันธ์ แต่หากมีการสัมผัสอวัยวะเพศภายนอกอย่างรุนแรงด้วยวัตถุ หรืออวัยวะที่มีเชื้อไวรัส HPV ตัวนี้อยู่ ก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน

          แล้วการใส่ถุงยางอนามัยล่ะ จะช่วยป้องกันโรคนี้ได้หรือไม่? 
คำตอบก็คือ แม้ถุงยางอนามัยจะช่วยป้องกันโรคเอดส์ หนองใน 
ได้ทางหนึ่ง แต่สำหรับโรคหูดหงอนไก่อาจจะช่วยป้องกันไม่ได้เท่าไรนัก เพราะเชื้อ HPV นี้ จะกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ทั้งทวารหนัก ฝีเย็บ หัวเหน่า ฯลฯ ซึ่งเป็นบริเวณที่ถุงยางอนามัยไม่ครอบคลุมนั่นเอง ฉะนั้นแล้ว หากมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อนี้อยู่ในตัวก็ถือว่าเสี่ยง
ต่อการเป็นหูดหงอนไก่ได้เช่นกัน

          วิธีการที่จะป้องกันที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนที่สามารถลดการเกิดโรคหูดหงอนไก่ได้ แต่ผู้ที่จะฉีดนั้นต้องไม่เคยติดเชื้อมาก่อน โดยวัคซีนนี้จะมาในรูปร่วมกับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในเข็มเดียวกัน ไม่มีการทำวัคซีนแยกออกมา เป็นวัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 6, 11, 16, และ 18  (แพทย์หญิง สลิล ศิริอุดมภาส
วว. พยาธิวิทยากายวิภาค) 
อีกทั้งยังสามารถป้องกันได้อีกหลายวิธี เช่น

1.ล้างมือและใช้แอลกอฮอร์เจลเป็นประจำเมื่อสัมผัสสิ่งของสาธารณะที่มีโอกาสนำโรค

                            http://www.bangklamhosp.com/main/wp-content/uploads/2015/10/
ภาพที่ 11 การล้างมืออย่าถูกวิธี
ที่มา: ชวลิต ทัศนสว่าง. (2533)

2.สถานบริการสาธารณะ เช่น สระว่ายน้ำ ยิม ควรมีการทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันเป็นประจำ

                             ทำความสะอาด
ภาพที่ 12 การทำความสะอาดเครื่องออกกำลังกาย
ที่มา : ชวลิต ทัศนสว่าง. (2533)

3.หากอยู่ร่วมบ้านกับสมาชิกที่มีรอยโรคให้ทำความสะอาดอุปกรณ์
ที่ใช้ร่วมกันด้วยน้ำยาทำความสะอาดทั่วไปที่ใช้ตามบ้าน
                               http://a1.trd.cm/thaisecondhand/201306/044/
ภาพที 13  การทำความสะอาดบ้านเรือน
ที่มา :ชวลิต ทัศนสว่าง. (2533)

4.ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวเช่นผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น

5.หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้เป็นโรคหูด พื้นที่และของใช้ที่เปรอะเปื้อน

ที่มา : 
          มิลินคลินิก. หูดข้าวสุก [ออนไลน์]. สืบค้นข้อมูลจาก : http://www.skinanswer.org/) (วันที่สืบค้น 22 มิถุนายน 2559)
          ชวลิต ทัศนสว่าง. (2533). โรคหูดหงอนไก่ [ออนไลน์]. 
สืบค้นข้อมูลจาก: http://www.ipesp.ac.th/learning/poungkaew/chapter7/
Unti7_11.html (วันที่สืบค้นข้อมูล : 21 มิถุนายน 2559)
          สลิล ศิริอุดมภาส. (5 มิถุนายน 2557). 
อาการของโรคหูด [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://haamor.com/th/      (วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2559).

"โรคหูด" ก่อให้เกิดผลค้างเคียงอย่างไร

                                 http://frynn.com/wp-content/uploads/2016/03/   
  ภาพที่ 10  ผลข้างเคียงของโรคหูด
ที่มา : สลิล ศิริอุดมภาส. (2557)

            โรคหูด เมื่อไม่ได้รักษา 2 ใน 3 จะหายไปเองภายใน 2 ปี โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น แต่ในบุคคลที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง มักไม่หายเอง การรักษาก็ไม่ค่อยได้ผล มีอัตราการเกิดเป็นใหม่สูง และหูดอาจกลายเป็นมะเร็งได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
            อนึ่งมะเร็ง แต่บางชนิดย่อย เป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งได้ เช่น ชนิด 6, 11, 16, 18, 31, 35 ซึ่งมักเป็นชนิดซึ่งเป็นสาเหตุของหูดบริเวณอวัยวะเพศ ดังนั้น การติดเชื้อหูดบริเวณนี้ จึงเป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิด มะเร็งผิวหนังของอวัยวะเพศภายนอกมะเร็งช่องคลอด และมะเร็งปากมดลูก หูดจากเชื้อเอชพีวี หลายชนิดย่อย ไม่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด

ที่มา :
          สลิล ศิริอุดมภาส. (5 มิถุนายน 2557). อาการของโรคหูด [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://haamor.com/th/      
วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2559).

วิธีการดูแลตนเองในระหว่างการรักษา "โรคหูด"

http://haamor.com/media/images/articlepics/
ภาพที่ 9 การดูแลตนเองขณะทีเป็นโรคหูด
ที่มา : สลิล ศิริอุดมภาส. (2557)


          โรคหูด  เป็นโรคที่เกิดจาการติดเชื้อไวรัส  ในผู้ที่เป็นโรคหูดควรดูแลรักษาผิวหนัง ทำความสะอาดร่างกายอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อไม่ให้เชื่อโรคเข้าสู่ผิวหนัง  โดยมีวิธีการดูแลรักษาตนเอง  ดังนี้
1. ติดตามการรักษาโดยการมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
2. หมั่นตรวจอวัยวะเพศของตัวเองเพื่อหารอยโรคอยู่เสมอ
3.งดการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างการรักษาแต่หากมีความจำเป็นก็ควรใช้ถุงอนามัยด้วยทุกครั้ง เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ
4. ควรล้างมือให้สะอาดด้วยเจลแอลกฮอล์บ่อย ๆ เป็นประจำ และหากสัมผัสรอยโรคให้ล้างบริเวณที่สัมผัสและล้างมือให้สะอาดด้วยเจลแอลกฮอล์
5. รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ครบถ้วน เช่น การดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด, ล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ, รับประทานอาหารที่สุกสะอาด, งดการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ใช้สารเสพติด และการสำส่อนทางเพศ, ออกกำลังกายอยางสม่ำเสมอ, ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เป็นต้น
6. ในรายที่มีหูดขึ้นหลายแห่ง หรือเป็น ๆ หาย ๆ อยู่บ่อย ๆ ควรไปตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือไม่
7. ในผู้หญิงที่เป็นหูดบริเวณปากมดลูก อาจเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคเอดส์หรือมีพฤติกรรมเสี่ยงเพิ่มขึ้น เช่น สูบบุหรี่หรือกินยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ฯลฯ ดังนั้น จึงควรหาทางหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ และควรตรวจหามะเร็งปากมดลูกในระยะแรกเริ่มอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
8. ในระหว่างการรักษาหูด หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น ผิวหนังบริเวณที่ทำการรักษามีอาการเจ็บ แดง ระคายเคืองเป็นบริเวณกว้าง หรือผู้ป่วยมีความกังวลในอาการที่เป็นอยู่ ควรรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดเสมอ

ที่มา :
           สลิล ศิริอุดมภาส. (5 มิถุนายน 2557). โรคหูด [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://haamor.com/th/
(วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2559).

วิธีการรักษา "โรคหูด"

           ด้วยโครงสร้างของเชื้อเอชพีวี (HPV) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่ทำให้เชื้อนั้นไม่สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงของสิ่งแวดล้อมที่เชื้ออาศัยอยู่ได้ แพทย์จึงสามารถกำจัดเชื้อนี้ได้ด้วยการใช้ความร้อนจัด ความเย็นจัด หรือใช้ยาเคมีบำบัดบางชนิด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหูดที่มีขนาดเล็กย่อมรักษาได้ง่ายกว่า โดยพบว่าถ้าหูด
มีขนาดเล็กกว่า 1 ตารางเซนติเมตรก็มักจะรักษาด้วยยาได้สำเร็จแต่ถ้าหูดมีขนาดใหญ่กว่านั้นก็อาจจะต้องเลือกใช้วิธีอื่นในการรักษาแทน
           ส่วนประสิทธิภาพในการรักษาแต่ละวิธีก็แตกต่างกันไปและ ทุกวิธีก็มีโอกาสเกิดซ้ำขึ้นได้ โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกหลังสิ้นสุดการรักษา เพราะพบว่ามีผู้ป่วยมากกว่า 50-70% ที่ได้รับการรักษาจนหายแล้วกลับมาเป็นซ้ำอีกภายหลังหนึ่งปี ทั้งมาจากการติดเชื้อซ้ำใหม่หรือจากการกลับมาเป็นซ้ำจากเชื้อเดิมที่ยังคงเหลืออยู่ในบริเวณเดิม แต่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงไม่ได้รับการรักษาให้หมดไปจากการรักษาในครั้งแรก และโดยเฉพาะในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ซึ่งจะดื้อต่อการรักษาและมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูง แพทย์อาจให้การรักษาโดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้

-ทาด้วยยาโพโดฟิลลิน (Podophyllin) ชนิด 25% 

                              http://frynn.com/wp-content/uploads/2016/03/
ภาพที่ 6 ยาโพโดฟิลลิน (Podophyllin) ชนิด 25% 
ที่มา : ชลธิรศน์ ศรีเกษตรสรากุล. (2557)

          แต่ต้องระวังไม่ให้ถูกเนื้อดี โดยให้ใช้วาสลีนทาปิดเนื้อดีโดยรอบเอาไว้ก่อน หลังจากทายาประมาณ 4-6 ชั่วโมงแล้วให้ล้างออก และต้องทาซ้ำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งจนกว่ารอยโรคจะหาย ซึ่งมักจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับขนาดของรอยโรค ตัวยานี้จะมีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ แต่ก็มีผลข้างเคียงคือ อาจทำให้ผิวระหนังเกิดการระคายเคืองหรือแสบบริเวณที่ทายาได้ แต่ถ้ารักษาด้วยวิธีนี้เกิน 2 เดือนแล้วยังไม่หายควรเปลี่ยนไปใช้วิธีการรักษาแบบอื่นแทน (ยานี้ห้ามใช้ในหูดหงอนไก่ที่ขึ้นบริเวณปากมดลูกหรือภายในช่องคลอดและห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ การรักษาด้วยวิธีนี้มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำประมาณ 20-35%

-ทาด้วยกรดไตรคลอโรอะซิติก หรือ ทีซีเอ(Trichloroacetic Acid – TCA) ชนิด 50-70% 

         โดยไม่ต้องล้างออก และระวังอย่าให้ถูกผิวหนังที่ดี หลังจากทายาประมาณ 1 ชั่วโมงไม่ควรให้บริเวณที่ทายาโดนน้ำ และต้องรักษาซ้ำทุก 2 สัปดาห์จนกว่ารอยโรคจะหมดไป ตัวยานี้จะมีฤทธิ์ทำให้โปรตีนในเซลล์เสื่อมสภาพเป็นเซลล์ตาย ทำให้หูดที่มีก้านหลุดออกไปภายใน 2-3 วัน จึงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการแสบและระคายเคืองตรงรอยโรค หรือเป็นแผลมีเลือดออกได้ ถ้ารักษาด้วยวิธีนี้ติดต่อกันเกิน 6 ครั้งแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยวิธีอื่น (วิธีนี้สามารถใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์ และการรักษาด้วยวิธีนี้มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำประมาณ 35%

-ทายาด้วยครีมอิมิควิโมด (Imiquimod cream) ชนิด 5% 

                                            ยารักษาหูดหงอนไก่
ภาพที่ 7 ยาครีมอิมิควิโมด
ที่มา : ชลธิรศน์ ศรีเกษตรสรากุล. (2557)

            เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้กำจัดเชื้อเอชพีวี (HPV) ออกไป โดยให้ทายานี้วันเว้นวันในช่วงก่อนเข้านอน ติดต่อกันเป็นเวลา 16 สัปดาห์ เป็นวิธีรักษาในหูดหงอนไก่ชนิดราบที่ไม่ได้อยู่ในบริเวณเยื่อเมือก ยาทานี้มีราคาแพง แต่ผู้ป่วยสามารถนำกลับมาทาเองที่บ้านได้ (ยานี้ห้ามใช้ในหูดหงอนไก่ที่ขึ้นบริเวณปากมดลูกหรือภายในช่องคลอดและห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และการรักษาด้วยวิธีนี้
มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำประมาณ 20%

-ทาด้วยยาโพโดฟิลอก (Podofilox) ชนิด 0.5%

                             ยาทาหูดหงอนไก่
ภาพที่ 8 ยาโพโดฟิลอก
ที่มา : ชลธิรศน์ ศรีเกษตรสรากุล. (2557)

            มีทั้งรูปแบบเจลและครีม ผู้ป่วยสามารถนำมาใช้ทาเองได้
ที่บ้าน วิธีกรใช้ก็คือให้ทาวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน แล้วเว้น 4 วัน 
แต่ไม่เกิน 4 รอบ โดยตัวยาจะมีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งเซลล์ ในระหว่างการใช้อาจทำให้เกิดการระคายเคืองเล็กน้อย (ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากเกินไป)

-รักษาด้วยการจี้ไฟฟ้า(Electrocauterization)หรือจี้ด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ (Laser ablation) 

เพื่อตัดรอยโรคออก ใช้วิธีลดความเจ็บปวดในการรักษาด้วยการฉีดยาชาเฉพาะที่ แพทย์มักใช้รักษาหูดขนาดใหญ่ที่รักษาด้วยวิธีอื่นมาแล้วแต่ไม่ได้ผล แต่มีข้อเสียคือ ควันที่เกิดจากการจี้ในระหว่างการรักษาจะมีเชื้อเอชพีวี (HPV) อยู่ หากสูดดมเข้าไปมาก ๆ ก็อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อเอชพีวีในทางเดินหายใจได้ (การรักษาด้วยวิธีนี้มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำประมาณ 5-50%

-รักษาด้วยการจี้ด้วยความเย็น (Cryotherapy) 

             เป็นการใช้ไม้พันสำลีชุบด้วยไนโตเจนเหลว (Liquid nitrogen) แล้วนำมาป้ายหรือพ่นเป็นสเปรย์ลงที่รอยโรค เพื่อให้ความเย็นสัมผัสรอยโรคเป็นเวลานานประมาณ 10-15 วินาที และต้องระวังอย่าให้ถูกผิวหนังที่ดี ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บปวดบ้างในขณะทำการรักษา แต่เป็นระดับที่สามารถทนได้โดยไม่ต้องใช้ยาชา และภายหลังการรักษาอาจทำให้มีรอยดำได้ การรักษาด้วยวิธีนี้จะต้องทำซ้ำทุก 2 สัปดาห์จนกว่ารอยโรคจะหาย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับขนาดของรอยโรค (วิธีนี้สามารถใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์ การรักษาด้วยวิธีนี้มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำประมาณ 20-40%

-รักษาด้วยวิธีการตัดหูดหงอนไก่ออกด้วยมีดผ่าตัด(Surgical excision) 

              โดยจะอาศัยการฉีดยาชาเฉพาะที่ วิธีการรักษานี้เป็นวิธี
ที่ช่วยลดการกลับมาเป็นซ้ำของหูดหงอนไก่ได้มากที่สุด มักใช้ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ หรือในรายที่เป็นหูดหงอนไก่ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงตั้งครรภ์ (วิธีนี้สามารถใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์ การรักษาด้วยวิธีนี้มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำประมาณ 
20-40%

-รักษาด้วยการขูดเอาเนื้องอกออก (Curettage)

-หากคู่นอนมีอาการของหูด 

              ควรพามาพบแพทย์และรักษาไปพร้อม ๆ กัน เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อซ้ำไปมาซึ่งกันและกันหลังการรักษา หรือหากไม่แน่ใจว่าเป็นหูดหรือไม่ก็ควรพามาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โอกาสที่จะติดจากทางอื่นนั้นมีน้อยมาก แต่ถ้าผู้อื่นหรือคนในครอบครัวมีรอยโรคที่ต้องสงสัยก็ควรพา
มาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป 
เพื่อป้องกันการแพร่กระจายสู่คนอื่น ๆ ภายในครอบครัว

ที่มา :
          ชลธิรศน์ ศรีเกษตรสรากุล. (2557)  (2 พฤษภาคม 2556). 
หูดหงอนไก่ หูดอวัยวะเพศ[ออนไลน์].  สืบค้นข้อมูลจาก : http://haamor.com/th/ (วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2559).

การติดต่อของ "โรคหูด"

                              http://frynn.com/wp-content/uploads/2016/03/
ภาพที่ 5 การติดต่อของโรคหูด
ที่มา : สลิล ศิริอุดมภาส. (2557)

หูด เป็นโรคติดต่อได้ โดย
- หูดบริเวณผิวหนังติดต่อจากการสัมผัสโดยตรง ผิวหนังที่มีบาดแผลจะติดเชื้อง่ายกว่าผิวหนังที่ปกติ

- หูดบริเวณอวัยวะเพศ ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งหูดบริเวณอวัยวะเพศ ก็เกิดจากการสัมผัสกันนั่นเอง ทั้งนี้ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสหูดแล้ว เชื้อจะเข้าสู่เซลล์ผิวหนังและเซลล์เยื่อบุ มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเชื้อ แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและเยื่อบุจนเห็นเป็นก้อนเนื้อ ที่เราเรียกว่า หูด

- โรคหูด มีระยะฟักตัวประมาณ 2-6 เดือน เนื่องจากเชื้อไวรัสหูด
จะแบ่งตัวเฉพาะที่ผิวหนังและเยื่อบุเท่านั้น โดยไม่ลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด และไม่แพร่เชื้อเข้าสู่อวัยวะอื่นๆ เชื้อหูดจึงไม่ติดต่อผ่านทางอื่นๆ เช่น ไอ จามรดกัน หรือ อย่างในกรณีที่มีหูดที่หน้า การมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ทำให้ติดเชื้อหูด แล้วกลายเป็นหูดที่อวัยวะเพศหรือที่หน้า แต่ถ้าเกิดเอามือสัมผัสหน้า และมือไปสัมผัสอวัยวะอื่นๆ ก็จะทำให้ติดเชื้อหูดจากหน้าได้

- บางคนเป็นลักษณะ พาหะโรค คือ ผิวหนังดูปกติ ไม่มีตุ่มนูน แต่มีเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ ซึ่งโดยการสัมผัสผิวหนังส่วนมีเชื้อเช่น เดียวกัน

ที่มา : 
          สลิล ศิริอุดมภาส. (5 มิถุนายน 2557). อาการของโรคหูด [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://haamor.com/th/      
(วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2559).

อาการของ "โรคหูด"

อาการที่พบบ่อยของโรคหูด คือ

1.หูดที่ผิวหนัง

      https://warts59.files.wordpress.com/2015/06/
ภาพที่ 2 หูดข้าวสุกที่ผิวหนัง
ที่มา :สำนักงานกองทุนการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557)

ชนิดของหูดแบ่งกว้างๆตามลักษณะและตำแหน่ง ได้แก่
         - หูดทั่วไป (Common warts)  ซึ่งพบได้บ่อยสุด เป็นหูดแบบนูนมีผิวขรุขระ ขนาดมีได้ตั้งแต่ 1 มิลลิเมตร (ม.ม.) จนถึง 1 เซนติเมตร (ซ.ม.) มักพบบริเวณมือและหัวเข่า เกิดจากเชื้อ เอชพีวี 2 และ 4 (บ่อยสุด) แต่พบจาก เอชพีวีชนิดอื่นได้ เช่น 1, 3, 26, 27, 29, 41, 57, 65, และ 77
         - หูดคนตัดเนื้อ (Butcher's warts)  พบในคนมีอาชีพแล่เนื้อดิบโดยไม่ ได้เกิดจากเนื้อที่แล่ (คือไม่ใช่หูดของ หมู วัว และอื่นๆ ) แต่เกิดจากการติดต่อจากคนสู่คน โดยมีเนื้อเป็นทางผ่าน ลักษณะหูดหน้าตาเหมือนหูด ทั่วไป แต่ใหญ่กว่า มีผิวขรุขระมากกว่า มักพบที่มือ ส่วนใหญ่เกิดจาก เอชพีวี 7 ที่เหลืออาจพบ เอชพีวี 1, 2, 3, 4, 10, 28
         - หูดชนิดแบนราบ (Plane warts หรือ Flat warts) ซึ่งจะยกนูนจากผิวหนังเพียงเล็กน้อย ผิวค่อนข้างเรียบ มีขนาดตั้งแต่ 1-5 ม.ม. อาจมีจำนวนตั้งแต่ 2-3 อัน ไปจนถึงหลายร้อยอัน และอาจมารวมกันเป็นกลุ่ม มักเกิดบริเวณใบหน้า มือ และหน้าแข้ง เกิดจากเชื้อ เอชพีวี 2, 3, 10, 26, 27, 28, 29, 38, 41, 49, 75, 76
          - หูดฝ่ามือฝ่าเท้า (Plamar and Plantar warts) เป็นตุ่มนูนกลม ผิวขรุขระ ถูกล้อมรอบด้วยผิวหนังที่หนาตัวขึ้น มักมีอาการเจ็บ แยกยากจากตาปลา(ผิวหนังจะด้าน หนา จากถูกเบียด เสียดสีบ่อยๆ) แต่ถ้าฝานดูจะมีจุดเลือดออกเล็กๆ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ เอชพีวี 1 มีบ้างที่เกิดจาก เอชพีวี 4 มักจะไม่เจ็บ และอาจเกิดรวมกลุ่มกัน ทำให้ดูเป็นหูดขนาดใหญ่
อาจจะเรียบหรือนูนเล็กน้อย จนกระทั่งนูนออกมามากมีผิวขรุขระ แข็งกว่าหนังธรรมดา และเวลาตัดส่วนยอดของหูดแล้ว จะเห็นเส้นเลือดฝอยเล็กๆที่อุดตันภายใน และมีจุดเลือดออกเล็กๆ ในบางครั้งการติดเชื้อหูดอาจไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังใดๆเลยก็ได้

2.หูดอวัยวะเพศ 

                            https://warts59.files.wordpress.com/2013/11/
ภาพที่ 3 หูดที่อวัยวะเพศ
ที่มา : สลิล ศิริอุดมภาส. (2557)

           อาจเรียกว่าหูดหงอนไก่ (Condyloma accuminata) พบที่อวัยวะเพศภายนอกทั้งชายและหญิง ในกลุ่มชายรักร่วมเพศอาจพบหูดบริเวณรอบทวารหนัก หูดมีลักษณะนูน ผิวตะปุ่มตะป่ำ คล้ายหงอนไก่ เกิดจาก เอชพีวี 6, 11, 16 , 18, 30-32, 42-44, และ 51-58

3.หูดที่เยื่อบุ 

                             https://warts59.files.wordpress.com/2012/11/  
ภาพที่ 4 หูดที่เยื่อบุ
ที่มา :สำนักงานกองทุนการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557)

             นอกจากเชื้อหูดจะทำให้เกิดโรคที่ผิวหนังแล้ว ยังสามารถก่อให้ เกิดโรคที่เยื่อบุได้ เช่น พบได้ที่สายเสียง และกล่องเสียง ซึ่งจะเกิดในเด็กที่คลอดทางช่องคลอดจากมารดาที่ติดเชื้อหูดบริเวณอวัยวะเพศ จึงได้รับเชื้อ จากการกลืน หรือสำลักขณะคลอดได้ หรืออาจเกิดในผู้ใหญ่จากการร่วมเพศโดยการใช้ปาก นอกจากนี้ยังอาจพบได้ที่เยื่อบุตา ลักษณะหูดจะเป็นตุ่มนูน มีผิวขรุขระ คล้ายหูดทั่วไป

ที่มา : 
          สลิล ศิริอุดมภาส. (5 มิถุนายน 2557). อาการของโรคหูด [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://haamor.com/th/      
(วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2559).

สาเหตุของ "โรคหูด"

ภาพที่ 1  หูดที่ผิวหนัง
ที่มา : สำนักงานกองทุนการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557)

                  เมื่อพูดถึง “หูด” หลายๆ คนก็คงจะเคยผ่านประสบการณ์
นั้นมาแล้ว และหลายคนก็คงจะมีรู้สึกว่ามันเป็นปัญหารบกวนจิตใจอยู่ช่วงหนึ่งเลยทีเดียว เรามาทำความรู้จักหูดกันดีกว่า
          หูด เป็นโรคติดเชื้อไวรัสทางผิวหนังที่พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย มักพบในเด็กและวัยรุ่น โดยจะโตช้า ๆ และอยู่นานโดยไม่มีอาการ 
ซึ่งหูดมีหลายขนาดและหลายลักษณะและเกิดขึ้นตามผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย บริเวณที่พบได้บ่อยคือ มือและเท้า ข้อมูลประชากรไทยราว 20–40 % เมื่อได้รับเชื้อไวรัสหูดแล้วไม่พบว่ามีการแสดงอาการ
           สาเหตุสำคัญเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งซึ่งมีหลายสายพันธุ์ เชื้อไวรัสหูดจะกระตุ้นให้เซลล์หนังกำพร้าเกิดการหนาตัวหรือแข็งตัวขึ้น โดยมีระยะฟักตัวนาน 1-6 เดือน และสามารถติดต่อกันได้ทางการสัมผัสผิวหนังและทางเพศสัมพันธ์ ขึ้นอยู่กับชนิดของหูด เชื้อจะเข้าสู่ร่างกาย ทางผิวหนังที่ถลอกเปื่อยยุ่ย มีรอยขีดข่วน มีแผล หรือมีการสัมผัสกับผิวหนังที่เป็นหูด รวมทั้งการหยิบจับสิ่งของที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อนอยู่ด้วย หูดสามารถติดต่อจากส่วนหนึ่งของร่างกายไปยังอีกส่วนหนึ่งได้ แม้กระทั่งการแกะเกาก็ทำให้หูดแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้
          การแสดงอาการของหูด มักไม่ค่อยมีอาการ แต่โดยส่วนมากจะพบว่าเจ็บมากในบริเวณที่เป็นหูด เช่น ตามฝ่าเท้าเพราะเมื่อเดินจะกดทับโดยตรงจึงทำให้เจ็บ นอกจากนี้ ลักษณะของหูดจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัสและบริเวณที่เป็น อาทิ หูดที่มือหรือเท้า จะมีลักษณะเป็นเม็ดนูนแข็ง ผิวอาจเรียบหรือขรุขระก็ได้ และอาจมีเพียงเม็ดเดียวหรือหลายเม็ดได้เช่นกัน

ที่มา  : 
          สำนักงานกองทุนการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
(28 กรกฎา 2557). หูดปัญหาผิวหนังรบกวนจิตใจ [ออนไลน์]. 
สืบค้นจาก: http://www.thaihealth.or.th/Content/25183.  
(วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน  2559).